Bluekoff Explorer : Let’s go to the Tea Ep.2

     การชิมเพื่อทดสอบคุณภาพของชา คล้ายกับวิธีการคัปปิ้งของกาแฟเลยค่ะ แต่จะมีการตรวจสอบคุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งใน Ep. นี้เราจะมาเล่าให้ผู้อ่านทุกคนได้ทราบกันว่าเค้ามีการตรวจสอบคุณภาพกันอย่างไรบ้าง

     พร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ!

เมื่อเราเดินเข้าไปในห้องชิมชา จะเจอโต๊ะขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยม ด้านบนมีชาและอุปกรณ์เตรียมไว้เรียบร้อย โดยชาที่เราจะทำการชิมในวันนี้ จะแบ่งชิมเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. ชาเขียวคั่ว ชาเขียว และชาแดง

ในการสกัดจะใช้ใบชา 4 กรัม น้ำร้อนที่อุณหภูมิเดือดปริมาตร 150 กรัม สกัดเวลา 1 นาที เมื่อครบเวลาแล้วจะยกใบขึ้นมา เพื่อดูกลิ่น และดูการคลี่ขยายของใบชา ความสมบูรณ์ของใบ  จากนั้นใช้ช้อนชิมรสชาติ

2. ชาเขียว มัจฉะ และโฮจิฉะ

     การชิมในกลุ่มนี้เราจะแบ่งชิมเป็น 2 รอบ โดยรอบแรกจะเป็นการชิมชาใบที่เตรียมไว้ก่อนที่จะนำไปบดเป็นมัจฉะ หรือโฮจิฉะ โดนชาใบเราจะชั่งน้ำหนักมา 4 กรัม สกัดโดยใช้น้ำเดือด ปริมาตร 150 มล. เวลา 1 นาที เมื่อครบเวลาแล้วให้ยกตะแกรงขึ้น เพื่อดมอโรม่าของใบชา จากนั้นใข้ช้อน มีหน้าตาคล้ายช้อนคัปปิ้ง ตักชาขึ้นมา โดยจะสเลิฟ หรือซดเบาๆก็ได้ เพื่อตรวจสอบรสชาติของใบชา โดยรอบนี้เราจะชิมชาที่ถูกเก็บในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ทางโรงงานเล่าว่า หากเก็บเกี่ยวในระยะเวลาเริ่มแรก จะได้ใบชาที่มีคุณภาพสูง ให้รสชาติที่ดี และมีสีเขียวเข้มอมฟ้า แปลว่าเป็นใบชาที่มีคุณภาพสูง เมื่อระยะเวลานานขึ้น เป็นชาท้ายฤดู ชาจะมีสีเขียวอมเหลือง มีความฝาด และขมขึ้น

     จากนั้นรอบที่สองก็จะทำการชิมผงมัจฉะ และโฮจิฉะที่ระดับการคั่วแตกต่างกัน เพื่อดูความแตกต่างกันทางด้านกลิ่น และรสชาติ

3. เกนมัยฉะ

     เกนมัย คือ การนำข้าวไปคั่ว เพื่อให้เกิดกลิ่น และรสชาติที่หอม หวาน ทานง่าย เราสามารถชิมโดยหยิบขึ้นมารับประทานได้เลย หรือนำไปแช่สกัดในน้ำร้อน และใช้ช้อนตักชิมได้เลย

     การเดินทางครั้งนี้ บริษัท บลูคอฟ จำกัด ต้องขอขอบคุณบริษัท Supplier ที่น่ารักในประเทศญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เราได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลต่างๆในการผลิตชา เพื่อนำข้อมูลมาเล่าให้ผู้อ่านทุกคนได้ฟังว่าการผลิตชามีที่มาที่ไปอย่างไร รวมถึงการควบคุมคุณภาพด้านต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าเราพยายามหาสิ่งที่ดีที่สุดมามอบให้กับทุกคนเสมอ