การทำความสะอาดเฟืองบด สำคัญอย่างไร

   

เครื่องบดกาแฟทุก ๆ ยี่ห้อ ทุก ๆ รุ่น ควรได้รับการถอดทำความสะอาดเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งหากเราไม่ได้ถอดเฟืองบดออกมาทำความสะอาดเลย อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการชงทั้งในด้านเวลาในการสกัดกาแฟ รสชาติและคุณภาพของกาแฟที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก และจะเป็นปัญหาอย่างยิ่งโดยเฉพาะในสภาพอากาศชื้น หรือโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน 

 ดังนั้นการทำความสะอาดเฟืองบดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับร้านกาแฟ ทางเราจึงอยากแนะนำขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องบดให้ได้ไปลองทำกัน

ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องบดกาแฟมีดังนี้    
1. หากเรามีความละเอียด –ความหยาบที่เหมาะสมอยู่แล้ว ให้เราใช้ปากกา หรือเทปทำเครื่องหมายก่อน จะง่ายต่อการปรับเมื่อเรา
ความทำความสะอาดเสร็จแล้ว

      

    
2. ถอดเฟืองบดออกมาทำความสะอาด

โดยส่วนใหญ่แล้วเราสามารถถอดเฟืองบดได้ ด้วยวิธีการปรับไปทางด้านหยาบ หรือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ไปจนสุดเกลียว ทั้งนี้เครื่องบดแต่ละเครื่องอาจมีวิธีถอดที่แตกต่างกัน

 

สำหรับรุ่นที่มีตัวล็อก ให้กดปลดตัวล็อกไว้ขณะที่หมุน 

จะสังเกตได้จากเกลียวมันจะสูงขึ้น และเบามือขึ้น 

ตัวปรับเฟือง จะสามารถถอดออกมาได้

***จากนั้นก็สามารถยกเฟืองบดออกมาได้เลย (ในรูปจะไม่ค่อยเลอะครับเพราะไม่ได้ใช้)


3. ทำความสะอาดเฟืองบด

เริ่มจากส่วนด้านบนที่เราถอดออกมาก่อน

ใช้ไขควงไขน็อต ให้ชิ้นเฟืองแยกออกจากฐาน
ใช้แปรงหรือผ้าแห้ง ทำความสะอาดผงกาแฟที่ค้างอยู่ด้านในออกให้หมด และใช้ไม้จิ้มฟันหรือไม้ปลายแหลม เขี่ยทำความสะอาดตามซอก ซี่เฟืองให้สะอาด

    

**ไม่แนะนำให้ใช้วัตถุที่เป็นโลหะมาเขี่ยทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้ซี่เฟืองเกิดการชำรุดได้

**หากนำไปล้างด้วยน้ำ ต้องทำให้แห้งให้เร็วที่สุด เช่น การเป่าด้วยไดร์เป่าผม

เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว ให้ประกอบเฟืองกลับเข้าที่ ไขน็อตให้แน่น ในส่วนของเกลียว ให้ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด หากยังมีผงกาแฟค้างอยู่ ให้ใช้ไม้จิ้มฟัน หรือไม้ปลายแหลม เขี่ยออกให้สะอาด (หากมีผงกาแฟเหลือค้างอยู่ อาจทำให้เกิดการปีนเกลียว ในตอนที่เราประกอบกลับเข้าไป)

4. การทำความสะอาดส่วนด้านล่าง ก่อนอื่นให้นำสปริง ตัวล็อค หรือน็อตต่าง ๆ ออกจากตัวเครื่องบดก่อน

**ตัวอย่างเช่น เครื่องบด Fiorenzato จะมีสปริงอยู่ 3 ชิ้น และตัวล็อค 1 ตัว ให้นำออกเก็บไว้ในภาชนะอื่น ๆ ก่อน ไขน็อตเพื่อถอดเฟืองชิ้นเฟืองบดออกจากฐาน (โดยอาจใช้แปรงหรือเครื่องมืออื่น ๆ มาขัด แกนหมุนของเฟือง เพื่อให้แกนไม่หมุนตามทิศทางการไข) นำเครื่องดูดฝุ่น ดูดผงกาแฟที่ค้างอยู่ด้านในออกให้หมด ส่วนผงกาแฟที่ค้างแน่น ให้เขี่ยออกด้วยไม้จิ้มฟันหรือไม้ปลายแหลม

***หากไม่มีเครื่องดูดฝุ่น ให้ตะแคงเครื่องบดลง แล้วใช้แปรง หรือผ้าแห้งทำความสะอาดด้านใน ในส่วนของเกลียว ให้ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด หากยังมีผงกาแฟค้างอยู่ ให้ใช้ไม้จิ้มฟัน หรือไม้ปลายแหลม เขี่ยออกให้สะอาด (หากมีผงกาแฟเหลือค้างอยู่ อาจทำให้เกิดการปีนเกลียว ในตอนที่เราประกอบกลับเข้าไป) 

     

ในส่วนของเกลียว ให้ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด หากยังมีผงกาแฟค้างอยู่ ให้ใช้ไม้จิ้มฟัน หรือไม้ปลายแหลม เขี่ยออกให้สะอาด (หากมีผงกาแฟเหลือค้างอยู่ อาจทำให้เกิดการปีนเกลียว ในตอนที่เราประกอบกลับเข้าไป)

หากใช้เครื่องบดเป็นเวลานานแล้ว สารหล่อลื่นของเกลียวจะเริ่มหมด ทำให้เกลียวฝืด ดังนั้นอาจนำ จาระบี Food Grade มาทาที่เกลียวเล็กน้อย

    5. ประกอบทุกชิ้นส่วนกลับเข้าไป

 เริ่มจากใส่เฟืองกลับที่เดิม ไขน็อตให้แน่น ใส่สปริง และมุดล็อคกลับเข้าที

ใส่เฟืองบดชิ้นบนกลับไป                                      

ทา จาระบี Food Grade ที่เกลียวด้านบน

ไขเกลียวหมุนทวนเข็มนาฬิกากลับเข้าไป จนสุด (แกนกลางหมุนไม่ได้)  หากมีตัวล็อคให้กดคลายล็อคขณะที่หมุนด้วย

ระหว่างที่หมุนต้องระวังไม่ให้เกิดการปีนเกลียว หากตอนที่ไขเกิดความรู้สึกฝืด ตั้งแต่แรกให้คลายก่อนเล็กน้อย เพื่อเช็คว่ายังมีผงค้างที่เกลียวบ้างหรือเปล่า เมื่อมั่นใจว่าสะอาดแล้วจริง ๆ แล้วจึงไขกลับเข้าไป

หมุนกลับเข้าไปจนสุด จนกว่าจะหมุนไม่ไป วิธีการเช็คคือ ให้ใช้มือหมุนแกนตรงกลางเฟืองบดด้านใน หากยังหมุนได้อยู่ แสดงว่ายังไม่สุด เพราะถ้าสุดแล้ว เฟืองบดจะติดกันและหมุนไม่ได้ (สิ่งสำคัญคือ ห้ามเปิดเครื่องขณะที่เช็คเฟือง เนื่องจากเฟืองจะสีกันเอง อาจทำให้ชำรุด)

จากนั้นให้หมุนกลับออกมาทางด้านหยาบ ให้สัญลักษณ์ที่ทำไว้ตรงกัน จากนั้น

หรือถ้าหากไม่ได้ทำเครื่องหมายให้เราปรับออกมาทางด้านหยาบประมาณ 10 นาที ตามเข็มนาฬิกา เพื่อคลายการชิดกันของเฟืองบด จะได้ค่าความละเอียดที่ใกล้เคียงกับการชงรูปแบบ Espresso

***เพื่อให้ได้ความละเอียดที่เหมาะสม ควรทำการเช็คค่าความละเอียดอีกครั้ง (Check Shot) เป็นการจบขั้นตอนการทำความสะอาดเฟืองบด