WHY IKAWA? THE JOURNEY OF COFFEE l ทำไมถึงเป็น IKAWA?.... กับการเดินทางของกาแฟ

     IKAWA หมายถึงกาแฟ ในภาษา Kirundi ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของบุรุนดี (ไม่ใช่ ภาษาญี่ปุ่น อย่างที่ใครหลายๆ คนนึกถึงในครั้งแรกที่ได้ยิน รวมถึงแอดมินด้วย) ผู้คนในบุรุนดีมีความเกี่ยวข้องพึ่งพากาแฟเป็นอย่างมากและนี่ที่ก็เป็นที่ที่ Andrew (ผู้ก่อตั้งบริษัท IKAWA) เติบโตขึ้นมาและเป็นจุดเริ่มแนวคิดของ IKAWA ด้วยเช่นกัน

     ในบทความนี้ เราจะนำเสนอและเจาะลึกข้อมูล จากการเดินทางของ Andrew และ Rombout ในปี 2015 ที่สร้างขึ้นโดยผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง Valentine Roels พร้อมด้วยแบรนด์กาแฟ Schluter ที่เพื่อทำความเข้าใจ ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพ และติดตามเส้นทางของกาแฟจากบุรุนดีไปยัง ท่าเรือดาร์เอสซาลามประเทศแทนซาเนีย ในระหว่างการเดินทาง ทำให้ Andrew ได้เรียนรู้ว่า IKAWA สามารถช่วยผู้ปลูกกาแฟได้อย่างไร โดยวิดีโออยู่ท้ายบทความนี้ค่ะ

     ในขณะที่กำลังถ่ายทำวิดีโอ พ่อแม่ของ Andrew ทำงานในบุรุนดี Stephen Stordy (พ่อของ Andrew) ทำงานร่วมกับเกษตรกร เพื่อจัดตั้งโรงงานแปรรูปกาแฟขนาดเล็กและสหกรณ์เกษตรกรขึ้นมา

            เกษตรกรจะมีการคัดเลือกเมล็ดเชอร์รี่กาแฟที่เก็บมา โดยจะเมล็ดที่ยังไม่สุก และสุกมากเกินไปออก

     กาแฟนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากในบุรุนดี รายได้ประมาณ 80% ของประเทศมาจากกาแฟ ซึ่งกาแฟในบุรุนดีปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยจำนวนมาก โดยเกษตรกรจะขายเชอร์รี่กาแฟให้กับโรงงานแปรรูปที่เรียกว่า Washing Station เพื่อแปรรูปเชอร์รี่กาแฟให้กลายเป็นเมล็ดกาแฟสาร (Green Coffee Bean) ที่พร้อมสำหรับการส่งออก

                    กะลากาแฟที่เริ่มจากในช่วงแรก จะมีการคัดแยกพวกเมล็ดที่สีซีดออกด้วยมือคน

     ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ราคากาแฟตกต่ำอย่างรุนแรง ประกอบกับสงครามกลางเมืองจากปี ค.ศ. 1993 ทำให้เกษตรกรชาวบุรุนดีจำนวนมากละเลยที่จะดูแลต้นกาแฟ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายป้องกันไม่ให้เกษตรกรถอนต้นกาแฟออก เพื่อปลูกพืชอย่างอื่นที่อาจทำกำไรได้มากกว่า ทำให้ผลผลิตกาแฟลดลง เนื่องจากต้นไม้ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องนั่นเอง

               หลังจากสีกะลาออก กลายเป็นสารกาแฟ จะมีการคัดแยก Defects ออกอีกครั้งด้วยมือคน

     สถานที่ในการถ่ายทำวีดีโอในครั้งนี้คือ Washing Station ของสหกรณ์โคเดมู (The Codemu cooperative’s washing station) ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วยความช่วยเหลือของกลุ่ม Food for the Hungry ของประเทศบุรุนดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกษตรกรผลิตกาแฟเป็นของตัวเอง และได้รับประโยชน์โดยตรง สร้างมูลค่า ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของกาแฟ เพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีและขายในราคาที่สูงขึ้น

     ในระหว่างการบันทึกวิดีโอได้ติดตามเส้นทางของเมล็ดเชอร์รี่กาแฟ ตั้งแต่การเลือกเก็บเมล็ดเชอร์รี่กาแฟไปจนถึงจุดที่บรรจุลงเรือในคอนเทนเนอร์เพื่อส่งออก และเดินทางข้ามแทนซาเนียด้วยรถบรรทุกเป็นเวลา 5 วัน

     สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดความติดขัดและล่าช้า คือ เกษตรกรที่นี่พิถีพิถันอย่างมากในการผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพสูง โดยเมล็ดกาแฟทุกเมล็ดจะถูกคัดแยกด้วยมือประมาณสามครั้ง และผ่านเครื่องจักรเพื่อคัดขนาดอีก 1 ครั้ง จากนั้นกาแฟจะถูกบรรจุลงในกระสอบและส่งออกไปยังประเทศที่ดื่มกาแฟ ด้วยความพยายามของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ในการทุ่มเทเพื่อผลิตกาแฟคุณภาพสูง แต่ความจริงที่น่าเสียดายก็คือ ผู้ปลูกกาแฟจำนวนมากไม่เคยลิ้มรสกาแฟของตัวเอง Andrew จึงเปิดโอกาสให้คนงานใน Washing Station ได้มีโอกาสลองชิมเป็นครั้งแรก

                         เกษตรกร และผู้ผลิตกาแฟในบุรุนดี กำลังชิมกาแฟของตัวเองครั้งแรก

     IKAWA มุ่งหวังที่จะเป็นคนกลางระหว่างผู้บริโภคกับเกษตรกร ได้จึงวางแผนที่จะส่งคืนเงินบางส่วนโดยการบริจาค 10% ของรายได้จากการขายกาแฟ ให้กับโครงการที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพกาแฟต่อไป

     นอกจากนี้ IKAWA ยังเชื่อว่าองค์กรเกี่ยวกับกาแฟจำเป็นต้องมีเครื่องคั่วที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้พัฒนากาแฟได้ลิ้มรสชาติผลิตผลของตน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นกันจนเกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับปรุง การผลิตและวิธีการต่างๆ ได้ แต่ด้วยเครื่องคั่วตัวอย่างที่มีอยู่ตามท้องตลาดมีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเครื่องคั่ว IKAWA รวมถึงใช้งานยาก และต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญพอสมควร

     สำหรับเครื่องคั่ว IKAWA นั้น ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย สะดวกและยังสามารถเพิ่มเติมโปรไฟล์การคั่ว สามารถแบ่งปันโปรไฟล์กับผู้ส่งออก ไปจนถึงผู้บริโภคได้อีกด้วย ทำให้ทุกคนในห่วงโซ่กาแฟสามารถคั่วกาแฟในโปรไฟล์เดียวกันได้ และสัมผัสรสชาติเดียวกันได้อย่างแม่นยำ

     ดังนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ทีม IKAWA ทำงานร่วมกับ Cafédirect Producers Foundation เพื่อแจกจ่ายเครื่องคั่วตัวอย่างให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยโดยได้รับทุนจากแคมเปญ Kickstarter เพื่อใช้สำหรับพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพต่อไปค่ะ


วิดีโอเล่าเรื่องราวการเดินทางในครั้งนี้ : https://vimeo.com/127260524

ขอบคุณ เรื่องราวดี และภาพประกอบจาก IKAWA
ที่มา : https://www.ikawacoffee.com/at-home/blog/2015510why-ikawa/